วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน คือ อะไรนะ

                                                                



          กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน ในธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักของผู้เลี้ยงในปัจจุบันมีมากกว่า 150 ชนิด และมากกว่าครึ่งมาจากเกาะมาดากัสการ์ และที่เหลือพบในยุโรปตอนใต้ เอเชียและฮาวาย โดยแหล่งทีอยู่อาศัยของมันในธรรมชาติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว มีทั้งทะเลทรายซาฮาร่าจนถึงทุ่งหญ้าบนภูเขา หรือในป่าดงดิบก็ยังมีเลยครับ ซึ่งพบที่ทางตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ ทำให้คาร์เมเลี่ยนแต่ละชนิดมีความต้องการพื้นฐานแตกต่างกัน ทางที่ดีก่อนที่เราจะนำมาเลี้ยงควรทำการศึกษาให้ดีเสียก่อนนะครับ




         คาร์เมเลี่ยน มีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้ว ไปจนถึง 2 ฟุตครึ่ง โดยปกติตัวผู้จะมีสีสันสดใสกว่าตัวเมียและบางชนิดอาจมีโหนกและเขายื่นออกมา ในขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยทั่วไปมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี โดยตัวผู้มีอายุยืนยาวกว่า ซึ่งตัวผู้ที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะมีอายุถึง 4-5 ปี ส่วนตัวเมียอายุสั้นกว่าเพียง 2-3 ปี เท่านั้น หน้าตาของมันนั้นก็ดูล้ายคล้ายกับลูกไดโนเสาร์ยังไงยังงั้นเลยครับ ซึ่งเหตุผลนี้เอง ทำให้มันถูกจับมาเป็นสัตว์เลี้ยงในปัจจุบัน

         คาร์เมเลี่ยน เป็นที่ต้องการของผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จัก คือ แพนเทอร์ เวลล์ คาร์เพท พาโซนี่ แจ็คสัน มิลเลอร์ เป็นต้น ซึ่งคาร์เมเลี่ยนทุกชนิดมีความต้องการพื้นฐานใกล้เคียงกัน ทั้งในเรื่อง ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงต้องคอยเอาใจใส่ จัดการดูแล คาร์เมเลี่ยนของท่านเองให้มีสุขภาพดีอยู่ตลอดเวลา


สิ่งที่ควรคำนึงในการเลี้ยงกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน







• ต้นไม้ ควรเลือกต้นไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถใส่เข้าไปในที่เลี้ยงได้ โดยมีขนาดกิ่งก้าน พอดีให้กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนเดิน หรือเกาะได้ เพราะกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ สามารถเพิ่มกิ่งไม้ในแนวนอนของที่เลี้ยงให้กิ้งก่ามีที่สำหรับเดิน ปีนป่ายเพิ่มมากขึ้น





• แสง กรงเลี้ยงที่ดีควรจะสามารถรับแสงแดด
หรือมีแหล่งพลังงานแสงติดตั้งภายในกรง เพราะกิ้งก่าจะชอบมาอาบแดดมากๆ ซึ่งสัตว์เลื้อยคลานแทบจะทุกชนิดต้องการรังสีอุลตร้าไวโอเลท เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แคลเซียม ซึ่งจะช่วยให้คาร์เมเลี่ยนมีสุขภาพ
ดี

• อุณหภูมิ ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่ากิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนมีที่มีจากหลากหลายทำให้ที่อยู่อาศัยมีอุณหภูมิแตกต่างกัน โดยที่คาร์เมเลี่ยนจะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอุณภูมิใหม่ได้ เราควรจัดอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดของคาร์เมเลี่ยน ชนิดที่สามารถเลี้ยงได้ในอุณหภูมิในบ้านเรา คือ แพนเทอร์ และ เวลล์ ส่วนที่ต้องการอุณหภูมิเย็นมากๆ คือ แจ็คสัน คาร์เพท เป็นต้น

• น้ำ คาร์เมเลี่ยนจะไม่กินน้ำจากภาชนะ แต่จะกินจากทางหยดน้ำ ที่เกาะตามใบไม้ใบหญ้าเท่านั้น การให้น้ำกับคาร์เมเลี่ยนมี 2 วิธีคือ การสเปรย์น้ำ และการติดตั้งระบบน้ำภายในกรง การสเปรย์น้ำนิยมทำวันละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัด แต่ไม่สามารถใช้ได้กับคาร์เมเลี่ยนชนิดที่ต้องการความชื้นสูง และการติดตั้งระบบน้ำ แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร แต่ก็เป็นผลดีในระยะยาว ซึ่งผู้ที่เลี้ยงในปริมาณมากๆหรือในฟาร์มก็นิยมใช้กัน หรืออาจทำได้เองง่ายๆโดยใช้ขวดหรืออะไรก็ได้ที่ใส่น้ำได้ วางไว้ด้านบนสูงกว่ากรงเลี้ยงแล้วต่อเป็นสายยางขนาดเล็กใส่วาล์วปรับให้น้ำค่อยๆหยดลงมาก็ทำได้เช่นกัน และต้องคอยเติมน้ำเมื่อน้ำหมด และยังเพิ่มความชื้นในกรงอีกด้วย

• ความชื้น กิ้งกาคาร์เมเลี่ยนแต่ละชนิดจะต้องการความชื้นไม่เท่ากัน โดยทั่วไปจะต้องการความชื้นประมาณ 50-90 % ซึ่งความชื้นได้มาจาก การให้น้ำกิ้งก่านั้นเอง การสเปรย์น้ำหรือระบบน้ำภายในกรงจะเป็นตัวที่ช่วยเพิ่มความชื้นในกรงได้เป็นอย่างดี กรณีที่ต้องการความชื้นสูงสามารถเพิ่มได้โดยหาภาชนะใส่น้ำหรือถาดน้ำวางไว้ด้านล่างของกรง หรือจัดกรงให้ส่วนหนึ่งเป็นแอ่งน้ำ ( การจัดตู้เลียนแบบธรรมชาติ ) แล้วใช้สายอากาศจากครื่องปั้มลมขนาดเล็กใส่ลงไปจะช่วยเพิ่มความชื้นในกรงให้สูงขึ้น หรือใช้มอสหรือหญ้าปกคลุมดินไว้อีกชั้นก็ได้เช่นกัน


• การระบายอากาศ กรงที่เลี้ยงควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้มีการหมุนเวียนของอากาศภายในกรง เพราะอาจทำให้กรงเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคที่เกิดจากการหมักหมม เนื่องมาจากอากาศไม่ถ่ายเท เป็นผลให้คาร์เมเลี่ยนติดเชื้อ หรือป่วยได้

• อาหาร กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนกินอาหารจำพวกแมลง ได้แก่ จิ้งหรีด ตั้กแตน แมลงหวี่ แมลงวัน ผีเสื้อ รวมถึงพวกหนอนต่างๆซึ่งปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยง ทำให้หาซื้อได้ง่าย เช่น หนอนรังไหม หนอนยักษ์ หนอนนก ซึ่งอาหารเหล่านี้ก่อนที่จะนำมาให้กิ้งก่าของเรากินควรเพิ่มคุณค่าทางอาหารโดยการให้ผักและผลไม้ที่มีประโยชน์แก่ แมลงเหล่านี้ก่อนนำไปให้กิ้งก่ากิน ผักผลไม้ที่นิยมนำมาเลี้ยงแมลงเหล่านี้ได้แก่ ส้ม แตงกวา กะหล่ำปลี ผักใบเขียว โดยหั่นเป็นชิ้นเล็กนำมาวางให้แมลง ( จิ้งหรีด ) กิน ก่อนที่จะนำไปให้คาร์เมเลี่ยนกิน

• วิตามินและแคลเซียม นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้กับกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน โดยนำมาคลุกกับวิตามินและแคลเซียม ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายสัตว์เลื้อยคลาน แล้วนำมาให้กิ้งก่ากินเป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ยังมีวิตามินชนิดน้ำโดยทั่วไปใช้วิตามินรวมสำหรับเด็ก ที่ควรเสริมให้กิ้งก่าโดยตรง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะพ่อแม่พันธุ์ที่ต้องการนำไปเพาะพันธุ์เพื่อให้คาร์เมเลี่ยนสมบูรณ์แข็งแรง

• ความเครียด เกิดได้หลายอย่าง เช่นที่ตั้งกรง คาร์เมเลี่ยนเป็นสัตว์ที่เกิดความเครียดได้ง่าย ดังนั้นบริเวณที่อยู่ของมันควรปราศจากเสียงดัง หรือความวุ่นวาย ควรเลือกหามุมที่สงบๆและร่มรื่นจะช่วยให้คารืเมเลี่ยนมีสุขภาพที่ดี หรือการจับมาเล่นบ่อยๆก็ทำให้กิ้งก่าเครียดได้ง่าย หรือการอยู่รวมกันหลายตัวก็ทำให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน เพราะคาร์เมเลี่ยนเป็นสัตว์ที่รักสันโดษ มักไม่ค่อยชอบอยู่รวมกับตัวอื่น ซึ่งเราต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของคาร์เมเลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ
            หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อหรือผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงได้บ้าง ซึ่งผมเองก็อาศัยเก็บเล็กผสมน้อย สอบถามจากผู้รู้ท่านอื่นๆ และประสบการณ์การเลี้ยงของตัวเอง ซึ่งก็หวังจะให้เพื่อนๆท่านอื่นนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างนะครับ

การเลือกซื้อคาร์เมเลี่ยน

1. ขั้นแรก เลยต้องเลือกชนิดคาร์เมเลี่ยนตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้ซื้อ โดยคาร์เมเลี่ยนแต่ละชนิดมีความต้องการแตกต่างกัน ผู้เลี้ยงมีความสามารถในการจัดการดูแลคาร์เมเลี่ยนชนิดไหน ได้ดีที่สุด โดยปัจจัยหลักๆจะอยู่ที่ อุณหภูมิและความชื้น สำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่นั้นควรจะเริ่มต้นจาก แพนเทอร์และเวลล์ จะดีที่สุด เนื่องจากเลี้ยงง่ายและทนทานในสภาพแวดล้อมของบ้านเรา ส่วนชนิดอื่นจำเป็นต้องเลี้ยงในห้องแอร์ หรือห้องที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักเลือกตามความชอบของตัวเองเสียส่วนใหญ่




2. ขั้นที่สอง เลือกคาร์เมเลี่ยนที่สุขภาพแข็งแรงดี ประการนี้ดูยากขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ซื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วกิ้งก่าที่สุขภาพดีจะไม่มีอาการขาดน้ำ ตาไม่ลึกโหล ก็ใช้ได้แล้วครับ ส่วนสีสันนั้นไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ เพราะว่ากิ้งก่านั้นจะเปลี่ยนสีลำตัวได้ตลอดเวลา แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เลี้ยงเองนั้นพบว่ากิ้งก่าก่อนตายจะแสดงสีที่สดและสวยงามที่สุดในชีวิตของมัน อีกอย่างหนึ่งครับ ผิวหนังไม่ควรแห้ง หยาบ แสดงถึงการขาดน้ำด้วยเช่นกัน

3. ขั้นที่สาม เลือกกิ้งก่าตัวที่สมบูรณ์ ไม่ผอมจนเห็นซี่โครง ไม่พิการ ควรมีอวัยวะทุกอย่างครบสมบูรณ์ กิ้งก่าที่สุขภาพดีจะกินอาหาร ควรสังเกตที่ท้องไม่ควรคอดกิ่ว

4. ขั้นที่สี่  กิ้งก่าไม่ควรมีบาดแผล หรือเป็นตุ่ม ตามลำตัว

5. ขั้นที่ห้า ไม่ควรเลือกกิ้งก่าที่ป่วยหรือเป็นโรค อันนี้สังเกตยากครับ ซึ่งสัตว์ที่ป่วยจะมีสีซีด และมีอาการเซื่องซึม ต้องดูกันดีๆ อาจดูได้จากการเคลื่อนที่ ปีนป่ายของมันว่าดูแข็งแรงหรือเปล่าก็ได้ครับ
        การเลือกซื้อนั้นควรใช้เวลาในการเลือกหน่อยก็จะดีครับจะได้สังเกตอาการของกิ้งก่าได้ละเอียดหน่อย เพราะกิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนมักเกาะตามกิ่งไม้นิ่งๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวเท่าไหร่ เราคงต้องอาศัยดูพฤติกรรมต่างๆของมันเอาครับ หรือหาเพื่อนไปช่วยเลือกก็ดีครับ แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะกิ้งก่าปัจจุบันได้มาจากการเพาะเลี้ยงแล้ว ดังนั้นมันจะมีวามทนทานกว่ากิ้งก่าที่จับมาจากธรรมชาติ และทนทานต่อโรคและความเครียดต่างๆได้ดีครับ


กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน คือ อะไรนะ

                                                                            กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน ในธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักของผู้...